หน่วยที่8 การใช้คอมพิวเตอร์ในสังคม
การประกอบวิชาชีพในสังคมสารสนเทศ
ในสังคมสารสนเทศมีผู้ประกอบการ ต่างๆที่จำเป็นต้องใช้ความรู้และทักษะเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้ประกอบวิชาชีพเหล่านั้นได้แก่
1.Chief information officer หรือเรารู้จักในนามของ CIO เป็นตำแหน่งของผู้นำหรือผู้บริหารด้านระบบสารสนเทศขององค์กร
2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analysts) และนักออกแบบระบบ (System Designer) เป็นผู้ที่มีความรู้ในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี มีประสบการณ์ในการพัฒนาโปรแกรม
3. นักพัฒนาโปรแกรม หรือ Programmer คือผู้พัฒนาโปรแกรมเพื่อนำไปใช้งานด้านต่างๆภายในองค์กร
4. Network administration ผู้บริหารระบบเครือข่าย มีหน้าที่ในการออกแบบระบบเครือข่ายไม่ว่าเป็น Lan หรือ Wan
5. System programmer เป็นผู้ที่ต้องมีความรู้ในเรื่องฮาร์ดแวร์ในระบบคอมพิวเตอร์และโปรแกรมระบบปฏิบัติการ (OS) เป็นอย่างดี
6. Database administration หรือ DBA คือผู้บริหารระดับฐานข้อมูล มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมฐานข้อมูล
7. Internet site specialist เป็นผู้สร้างและดูแล World Wide Web pages ต่างๆขององค์กรบนอินเตอร์เน็ต
8. Computer Operator เป็นผู้ควบคุมการใช้อุปกรณ์ต่างๆในระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่ทำหน้าที่เป็นแม่ข่ายหรือ Server ให้สามารถทำงานสัมพันธ์กัน
9. User liaison เป็นผู้ใช้ที่คุ้นเคยกับระบบคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศเฉพาะงานด้านต่างๆ
10. PC specialist เป็นนักคอมพิวเตอร์หรือบุคคลที่ได้รับการอบรมมาเพื่อจัดการด้านการใช้ PC และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบ PC
การจัดการสภาพที่ทำงาน
การจัดการสถานที่ทำงานหรือการจัดสภาพที่ทำงานเป็นศาสตร์หนึ่งที่กำเนิดขึ้นอันเนื่องมาจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กร มีชื่อเรียกว่า Ergonomics ซึ่งจัดเป็นศาสตร์ที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับระบบในองค์ประกอบสารสนเทศ ไม่ว่าจะเป็นฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (User interface) อาคาร สถานที่ แสงไฟ สภาพแวดล้อมในหน่วยงาน การระบายอากาศ การควบคุมอุณหภูมิฯลฯ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของผู้ประกอบการกลุ่ม Knowledge Worker ทั้งนี้เนื่องจากสภาพที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมเป็นบ่อเกิดของความเครียดและเป็นอันตรายต่อสรีสระในทุกส่วน ดังนั้นผู้ประกอบการด้าน ฮาร์ดแวร์ในปัจจุบันจะต้องคำนวณส่วนประกอบทุกชิ้นในระบบคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับสรีระของมนุษย์
จริยธรรมและจรรยาบรรณในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
1. สารสนเทศส่วนบุคคล (Personal Information) ปัจจุบันนี้ทั้งองค์กรของรัฐ และเอกชนล้วนแล้วแต่ ได้รับความสะดวกในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า ซึ่งเป็นสิ่งที่บุคคลมีสิทธิ์ในข้อมูลของตน ปัจจุบันมีความเสี่ยงในเรื่องความปลอดภัย
จะเห็นได้ว่าเรื่องของสารสนเทศส่วนบุคคลสามารถนำไปใช้ได้ทั้งในทางที่ดีและไม่ดี ดังนั้นผู้เกี่ยวข้องจะต้องตระหนักถึงบทบาทและจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพของตนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น
2. อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Crime) อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์จัดเป็นความสามารถอีกระดับหนึ่งของกลุ่มผู้ปฏิบัติการที่มักจะเป็นเด็กวัยรุ่นที่ศึกษาและฝึกทักษะเฉพาะทาง ทำให้ต้องมีการเข้มงวดเกี่ยวกับเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์ กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา และหาทางป้องกันทั้งทางด้านเทคนิคและด้านศีลธรรมต่อไป
คอมพิวเตอร์และระบบความปลอดภัย
ในส่วนของฮาร์ดแวร์จัดเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดเพราะหากฮาร์ดแวร์เสียหรือติดขัด ระบบสารสนเทศทั้งระบบไม่ก็ทำงานไม่ได้เลย ส่วนที่ควรระมัดระวังประการแรกได้แก่ ระบบไฟฟ้าเพราะคอมพิวเตอร์ทำงานได้ด้วยไฟฟ้า ดังนั้นหากเกิดกรณีที่ไฟฟ้าดับหรือลัดวงจรจะทำให้คอมพิวเตอร์หยุดทำงานทันที เกิดความเสียหายแก่ระบบ โดยส่วนรวมทางออกของการแก้ปัญหาความเป็นไปได้สูงที่สุด คือ การใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง หรือ UPS (Uninyerruptible power source) เพื่อจำหน่ายกระแสไฟฟ้าสำรองทันที ที่ไฟฟ้าดับ
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ การที่โปรแกรมเมอร์สามารถเขียนคำสั่งเพิ่มเติมลงไปในซอฟต์แวร์ของระบบสารสนเทศ ในกรณีที่ข้อมูลมีจำนวนมากและการแก้ไขหรือเพิ่มเติมคำสั่งเล็กน้อยเฉพาะส่วนนั้นสังเกตได้ยากมาก แต่อาจเกิดความเสียหายใหญ่หลวงเมื่อเกิดขึ้นทุกวัน
ความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องโดยตรง กับซอฟต์แวร์ ก็คือ ไวรัส (Virus) ซึ่งหมายถึงซอฟต์แวร์หรือชุดคำสั่งที่มีผู้พัฒนาขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการทำลายระบบข้อมูลหรือระบบปฏิบัติการหรือระบบซอฟต์แวร์ของผู้อื่น
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ การที่โปรแกรมเมอร์สามารถเขียนคำสั่งเพิ่มเติมลงไปในซอฟต์แวร์ของระบบสารสนเทศ ในกรณีที่ข้อมูลมีจำนวนมากและการแก้ไขหรือเพิ่มเติมคำสั่งเล็กน้อยเฉพาะส่วนนั้นสังเกตได้ยากมาก แต่อาจเกิดความเสียหายใหญ่หลวงเมื่อเกิดขึ้นทุกวัน
ความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องโดยตรง กับซอฟต์แวร์ ก็คือ ไวรัส (Virus) ซึ่งหมายถึงซอฟต์แวร์หรือชุดคำสั่งที่มีผู้พัฒนาขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการทำลายระบบข้อมูลหรือระบบปฏิบัติการหรือระบบซอฟต์แวร์ของผู้อื่น
ความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ (Information System Security)
ควรพิจารณาทั้งด้านอุปกรณ์และชุดคำสั่ง ด้านอุปกรณ์นั้นสามารถป้องกันได้เช่นเดียวกับกรณีของศูนย์คอมพิวเตอร์ ส่วนชุดคำสั่งนั้นสามารถป้องกันได้โดยการเขียนคำสั่งที่อนุญาตเฉพาะผู้มีอำนาจเกี่ยวข้องเข้าสู่ระบบสารสนเทศได้เท่านั้น โดยเฉพาะระบบออนไลน์ผู้ใช้ต้องมี User ID และ Password บางระบบอาจใช้ลายเซ็นต์กำกับอีกทีเพื่อป้องกันการเข้าสู่ระบบที่ผิด กฎหมาย
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
นักเรียน นักศึกษา สามารถศึกษาหาความรู้จากแหล่งความรู้อย่างไม่จำกัดบนระบบอินเทอร์เน็ต ทรัพยากรบุคคลของชาติมีพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เปลี่ยนไป รู้จักใช้ความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น มีการเรียนการสอนทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต ทั้งภายในประเทศ และระหว่างประเทศ ด้านการสาธารณสุข มีระบบแพทย์ออนไลน์ หรือ Telemedicine แพทย์ในโรงพยาบาลต่างๆ สามารถร่วมมือกันในการรักษาโรคแก่ผู้ป่วย ในกรณีที่ร้ายแรง หรือต้องการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรค ข้อมูลจากห้องปฏิบัติการทางเทคนิคการแพทย์สามารถออนไลน์ถึงกันได้ทั่วประเทศและทั่วโลก
ระบบทางด่วนข้อมูล (Information Super Highway) จัดเป็นเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูลที่ทำให้การส่งผ่านข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็ว ในปริมาณมาก และทุกรูปแบบ การใช้ลิขสิทธิ์ทางการเมือง ของประชาชนโดยเฉพาะการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ กลุ่มอื่นๆรวมทั้ง ประธานาธิบดี สามารถส่งสิทธิ์ในการเลือกตั้งในระบบออนไลน์ ประชากรของประเทศใดๆ ที่พำนักอาศัยอยู่ทั่วทุกมุมโลก ยังคงมีสิทธิ์ในบ้านเมืองของตน เสมือนอยู่ในประเทศ ระบบ ฐานข้อมูลแห่งชาติ นานาประเทศได้มีการพัฒนาฐานข้อมูลแห่งชาติ (Nation Database) เพื่อรวบรวมสำมะโนประชากร ที่คลอบคลุมข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนทุกคน
ระบบห้องสมุด มีลักษณะเป็นห้องสมุดดิจิทัล ที่หนังสือเอกสารทุกชนิดสามารถเก็บไว้ในรูปฐานข้อมูล ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ได้ และห้องสมุดเสมือน (Virtual library) ที่ผู้ใช้สามารถตรวจสอบและเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศได้ทุกสถานที่ ทุกเวลา เป็นผลให้การศึกษาค้นคว้ามี ประสิทธิภาพมากขึ้น การหางานทำ ในปัจจุบันเราสามารถตรวจสอบจาก
ระบบทางด่วนข้อมูล (Information Super Highway) จัดเป็นเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูลที่ทำให้การส่งผ่านข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็ว ในปริมาณมาก และทุกรูปแบบ การใช้ลิขสิทธิ์ทางการเมือง ของประชาชนโดยเฉพาะการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ กลุ่มอื่นๆรวมทั้ง ประธานาธิบดี สามารถส่งสิทธิ์ในการเลือกตั้งในระบบออนไลน์ ประชากรของประเทศใดๆ ที่พำนักอาศัยอยู่ทั่วทุกมุมโลก ยังคงมีสิทธิ์ในบ้านเมืองของตน เสมือนอยู่ในประเทศ ระบบ ฐานข้อมูลแห่งชาติ นานาประเทศได้มีการพัฒนาฐานข้อมูลแห่งชาติ (Nation Database) เพื่อรวบรวมสำมะโนประชากร ที่คลอบคลุมข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนทุกคน
ระบบห้องสมุด มีลักษณะเป็นห้องสมุดดิจิทัล ที่หนังสือเอกสารทุกชนิดสามารถเก็บไว้ในรูปฐานข้อมูล ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ได้ และห้องสมุดเสมือน (Virtual library) ที่ผู้ใช้สามารถตรวจสอบและเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศได้ทุกสถานที่ ทุกเวลา เป็นผลให้การศึกษาค้นคว้ามี ประสิทธิภาพมากขึ้น การหางานทำ ในปัจจุบันเราสามารถตรวจสอบจาก
กฎหมายลิขสิทธิ์ของคอมพิวเตอร์
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
กฎหมายลิขสิทธิ์มีวัตถุประสงค์ให้ความคุ้มครอง ป้องกันผลประโยชน์ทั้งทางเศรษฐกิจและทางศีลธรรม ซึ่งบุคคลพึงได้รับจากผลงานสร้างสรรค์อันเกิดจากความนึกคิด และสติปัญญาของตน นอกจากนี้ยังมุ่งที่จะสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดการสร้างสรรค์ผลงาน กล่าวคือ เมื่อผู้สร้างสรรค์ได้รับผลตอบแทนจากหยาดเหงื่อแรงกายและสติปัญญา ของตน ก็ย่อมจะเกิดกำลังใจที่จะคิดค้นสร้างสรรค์และเผยแพร่ผลงานให้แพร่หลายออกไปมากขิ่งขึ้นอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี การกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาสติปัญญาของคนในชาติ เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต
ประเทศไทยได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 เพื่อใช้บังคับแทน พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 โดยมีผลบังคับใช้วันที่ 21 มีนาคม 2538 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองต่อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยจัดให้เป็นผลงานทางวรรณกรรมประเภทหนึ่ง
งานที่ได้จัดทำขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และเป็นงานที่ได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ จะได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ
ระบบความปลอดภัยในการใช้สารสนเทศ
ความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ (Information System Security) ควรพิจารณาทั้งด้านอุปกรณ์และชุดคำสั่ง ด้านอุปกรณ์นั้นสามารถป้องกันได้เช่นเดียวกับกรณีของศูนย์คอมพิวเตอร์ ส่วนชุดคำสั่งนั้นสามารถป้องกันได้โดยการเขียนคำสั่งที่อนุญาตเฉพาะผู้มีอำนาจเกี่ยวข้องเข้าสู่ระบบสารสนเทศได้เท่านั้น โดยเฉพาะระบบออนไลน์ผู้ใช้ต้องมี User ID และ Password บางระบบอาจใช้ลายเซ็นต์กำกับอีกทีเพื่อป้องกันการเข้าสู่ระบบที่ผิดกฏหมาย
ความปลอดภัยในการสื่อสารข้อมูลบนระบบเครือข่าย
วิธีแรกที่ระบบต้องมี คือการตรวจสอบข้อมูลที่ติดต่อเข้ามาในระบบ ในระบบสื่อสารทั่วไปมีการส่งข้อมูลเป็นกลุ่ม (Package) คือ นำข้อมูลกลุ่มหนึ่งมารวมกันมีการกำหนดรหัสพิเศษของการรับส่งข้อมูล การตรวจทานข้อมูล เช่น ข้อมูลทั้งกลุ่มส่งไปจะปิดท้ายด้วยรหัสตรวจสอบขอมูลในรูปที่คำนวณได้ เช่น ตรวจสอบผลบวกของรหัสข้อมูลทั้งหมด ตรวจสอบด้วยส่วนซ้ำซ้อนแบบวนที่เรียกว่า ซีอาร์ซี (Cyclic Redundancy Check : CRC) เพื่อความแน่ใจว่า ข้อมูลกลุ่มนั้นมาถึงผู้รับโดยไม่มีข้อมูลใดเปลี่ยนแปลงไป หากพบข้อมูลผิดพลาดก็มีการทวงถามใหม่ได้
การตรวจสอบรหัสบุคคลเป็นวิธีหนึ่งที่ระบบต้องมี ดังจะเห็นได้จากการกำหนดรหัสผ่าน เช่น บัตรเอทีเอ็มทุกใบจะมีรหัสแถบแม่เหล็กและรหัสที่ให้ไว้กับเจ้าของ เมื่อผู้ใช้งานต้องติดต่อเข้าไปในระบบ คอมพิวเตอร์จะตรวจสอบรหัสทั้งสองนี้ว่าตรงกับที่กำหนดไว้หรือไม่ ถ้าตรงก็จะดำเนินการต่อไป การกำหนดรหัสผ่านนี้ถือว่าเป็นรหัสเฉพาะตัวที่เจ้าของจะต้องรับผิดชอบเอง เพราะแม้แต่เจ้าหน้าที่ของธนาคารก็ไม่รู้ว่ารหัสเอทีเอ็มของแต่ละคนเป็นรหัสอะไร ระบบจะเป็นผู้สร้างให้ และเป็นความลับ ซึ่งพิมพ์ออกมาพร้อมผนึกซองโดยเครื่องไม่มีเจ้าหน้าที่คนใดรู้
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในสารสนเทศในสังคม
การประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน ได้มีการนำมาใช้ในหลายสาขาวิชาชีพ ทั้งในด้านการศึกษา ด้านธุรกิจอุตสาหกรรม ด้านการแพทย์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ การทำงาน การศึกษาหาความรู้ ทำให้คุณภาพชีวิตของคนในสังคมปัจจุบันดีขึ้น นอกจากนี้หน่วยงานราชการต่างๆ ก็นำเทคโนโลยีสารสนเทศและ ระบบคอมพิวเตอร์ เข้ามาอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ในการติดต่อประสานงานกับทางราชการ และในธุรกิจเอกชนทางด้านการโรงแรม และการท่องเที่ยว ก็ให้บริการข้อมูลข่าวสาร และบริการลูกค้าผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ทำได้อย่างสะดวกรวดเร็วทันเหตุการณ์
การประยุกต์ใช้ในงานด้านการศึกษา
- คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการนำเอาเทคโนโลยี รวมกับการออกแบบโปรแกรมการสอน มาใช้ช่วยสอนโปรแกรมช่วยสอนนี้เหมาะกับการศึกษาด้วยตนเอง และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถโต้ตอบ กับบทเรียนได้ตลอด จนมีผลป้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียนรู้ บทเรียนได้อย่างถูกต้อง และเข้าใจในเนื้อหาวิชาของบทเรียนนั้นๆ
- การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก เป็นการจัดการเรียน ที่มีสภาพการเรียนต่างไปจากรูปแบบเดิม การเรียนการสอนแบบนี้ อาศัยศักยภาพและความสามารถของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการนำเอาสื่อการเรียนการสอน ที่เป็นเทคโนโลยี มาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอน ให้เกิดการเรียนรู้ การสืบค้นข้อมูล และเชื่อมโยงเครือข่าย ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกสถานท ี่และทุกเวลา
- อิเล็กทรอนิกส์บุค คือการเก็บข้อมูลจำนวนมากด้วยซีดีรอม หนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลตัวอักษรได้มากถึง 600 ล้านตัวอักษร ดังนั้นซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลหนังสือ หรือเอกสารได้มากกว่าหนังสือหนึ่งเล่ม และที่สำคัญคือการใช้กับคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถเรียกค้นหาข้อมูลภายในซีดีรอม ได้อย่างรวดเร็วโดยใช้ดัชนี สืบค้นหรือสารบัญเรื่อง
- วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ หมายถึงการประชุมทางจอภาพ โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย เป็นการประชุมร่วมกันระหว่างบุคคล หรือคณะบุคคลที่อยู่ต่างสถานที่ และห่างไกลกันโดยใช้สื่อทางด้านมัลติมีเดีย ที่ให้ทั้งภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง เสียง และข้อมูลตัวอักษร
- ระบบวิดีโอออนดีมานด์ (Video on Demand) เป็นระบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมนำมาใช้ ในหลายประเทศเช่น ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง ทำให้ผู้ชมตามบ้านเรือนต่าง ๆ สามารถเลือกรายการวิดีทัศน์ ที่ตนเองต้องการชมได้โดยเลือกตามรายการ (Menu) และเลือกชมได้ตลอดเวลา
- การสืบค้นข้อมูล (Search Engine) ปัจจุบันได้มีการกล่าวถึงระบบการสืบค้นข้อมูลกันมาก แม้แต่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ก็มีการประยุกต์ใช้ไฮเปอร์เท็กซ์ในการสืบค้นข้อมูล จนมีโปรโตคอลชนิดพิเศษที่ใช้กัน คือ World Wide Web หรือเรียกว่า www. โดยผู้ใช้สามารถเรียกใช้โปรโตคอล http เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งเป็นฐานข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ไฮเปอร์เท็กซ์มีลักษณะเป็นแบบมัลติมีเดีย เพราะสามารถสร้างเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ที่เก็บได้ทั้งภาพ เสียง และตัวอักษร มีระบบการเรียกค้นที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้โครงสร้างดัชนีแบบลำดับชั้นภูมิ
- อินเทอร์เน็ต คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายย่อย และเครือข่ายใหญ่สลับซับซ้อนมากมาย เชื่อมต่อกันมากกว่า 300 ล้านเครื่องในปัจจุบัน โดยใช้ในการติดต่อสื่อสาร ข้อความรูปภาพ เสียงและอื่น ๆ โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้ใช้งานกระจายกันอยู่ทั่วโลก ปัจจุบันได้มีการนำระบบอินเทอร์เน็ต เข้ามาใช้ในวงการศึกษากันทั่วโลก ซึ่งมีประโยชน์ในด้านการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก
- การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก เป็นการจัดการเรียน ที่มีสภาพการเรียนต่างไปจากรูปแบบเดิม การเรียนการสอนแบบนี้ อาศัยศักยภาพและความสามารถของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการนำเอาสื่อการเรียนการสอน ที่เป็นเทคโนโลยี มาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอน ให้เกิดการเรียนรู้ การสืบค้นข้อมูล และเชื่อมโยงเครือข่าย ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกสถานท ี่และทุกเวลา
- อิเล็กทรอนิกส์บุค คือการเก็บข้อมูลจำนวนมากด้วยซีดีรอม หนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลตัวอักษรได้มากถึง 600 ล้านตัวอักษร ดังนั้นซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลหนังสือ หรือเอกสารได้มากกว่าหนังสือหนึ่งเล่ม และที่สำคัญคือการใช้กับคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถเรียกค้นหาข้อมูลภายในซีดีรอม ได้อย่างรวดเร็วโดยใช้ดัชนี สืบค้นหรือสารบัญเรื่อง
- วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ หมายถึงการประชุมทางจอภาพ โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย เป็นการประชุมร่วมกันระหว่างบุคคล หรือคณะบุคคลที่อยู่ต่างสถานที่ และห่างไกลกันโดยใช้สื่อทางด้านมัลติมีเดีย ที่ให้ทั้งภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง เสียง และข้อมูลตัวอักษร
- ระบบวิดีโอออนดีมานด์ (Video on Demand) เป็นระบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมนำมาใช้ ในหลายประเทศเช่น ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง ทำให้ผู้ชมตามบ้านเรือนต่าง ๆ สามารถเลือกรายการวิดีทัศน์ ที่ตนเองต้องการชมได้โดยเลือกตามรายการ (Menu) และเลือกชมได้ตลอดเวลา
- การสืบค้นข้อมูล (Search Engine) ปัจจุบันได้มีการกล่าวถึงระบบการสืบค้นข้อมูลกันมาก แม้แต่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ก็มีการประยุกต์ใช้ไฮเปอร์เท็กซ์ในการสืบค้นข้อมูล จนมีโปรโตคอลชนิดพิเศษที่ใช้กัน คือ World Wide Web หรือเรียกว่า www. โดยผู้ใช้สามารถเรียกใช้โปรโตคอล http เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งเป็นฐานข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ไฮเปอร์เท็กซ์มีลักษณะเป็นแบบมัลติมีเดีย เพราะสามารถสร้างเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ที่เก็บได้ทั้งภาพ เสียง และตัวอักษร มีระบบการเรียกค้นที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้โครงสร้างดัชนีแบบลำดับชั้นภูมิ
- อินเทอร์เน็ต คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายย่อย และเครือข่ายใหญ่สลับซับซ้อนมากมาย เชื่อมต่อกันมากกว่า 300 ล้านเครื่องในปัจจุบัน โดยใช้ในการติดต่อสื่อสาร ข้อความรูปภาพ เสียงและอื่น ๆ โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้ใช้งานกระจายกันอยู่ทั่วโลก ปัจจุบันได้มีการนำระบบอินเทอร์เน็ต เข้ามาใช้ในวงการศึกษากันทั่วโลก ซึ่งมีประโยชน์ในด้านการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก
การประยุกต์ใช้ในงานทะเบียนของสถานศึกษา
- งานรับมอบตัว ทำหน้าที่ตรวจสอบหลักฐานที่นักศึกษานำมารายงานตัว จากนั้นก็จัดเก็บประวัติภูมิหลังนักศึกษา เช่น ภูมิลำเนา บิดามารดา ประวัติการศึกษา ทุนการศึกษา ไว้ในแฟ้มเอกสารข้อมูลประวัตินักศึกษา
- งานทะเบียนเรียนรายวิชา ทำหน้าที่จัดรายวิชาที่ต้องเรียนให้กับนักศึกษา ในแต่ละภาคเรียนทุกชั้นปี ตามแผนการเรียนของแต่ละแผนก แล้วจัดเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลผลการเรียน
- งานประมวลผลการเรียน ทำหน้าที่นำผลการเรียนจากอาจารย์ผู้สอนมาประมวลในแต่ละภาคเรียน จากนั้นก็จัดเก็บไว้ในแฟ้มเอกสารข้อมูลผลการเรียน และแจ้งผลการเรียนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ
- งานตรวจสอบผู้จบการศึกษา ทำหน้าที่ตรวจสอบรายวิชา และผลการเรียน ที่นักศึกษาเรียนตั้งแต่เริ่มต้น จนกระทั่งจบหลักสูตร จากแฟ้มเอกสาร ข้อมูลผลการเรียน ว่าผ่านเกณฑ์การจบหรือไม่
- งานส่งนักศึกษาฝึกงาน ทำหน้าที่หาข้อมูลจากสถานที่ฝึกงาน ในแต่ละแห่งว่าสามารถรองรับจำนวน นักศึกษาที่จะฝึกงานในรายวิชาต่าง ๆ ได้เป็นจำนวนเท่าใด จากนั้นก็จัดนักศึกษา ออกฝึกงานตามรายวิชา ให้สอดคล้องกับจำนวนที่สถานประกอบการต้องการ
- งานทะเบียนเรียนรายวิชา ทำหน้าที่จัดรายวิชาที่ต้องเรียนให้กับนักศึกษา ในแต่ละภาคเรียนทุกชั้นปี ตามแผนการเรียนของแต่ละแผนก แล้วจัดเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลผลการเรียน
- งานประมวลผลการเรียน ทำหน้าที่นำผลการเรียนจากอาจารย์ผู้สอนมาประมวลในแต่ละภาคเรียน จากนั้นก็จัดเก็บไว้ในแฟ้มเอกสารข้อมูลผลการเรียน และแจ้งผลการเรียนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ
- งานตรวจสอบผู้จบการศึกษา ทำหน้าที่ตรวจสอบรายวิชา และผลการเรียน ที่นักศึกษาเรียนตั้งแต่เริ่มต้น จนกระทั่งจบหลักสูตร จากแฟ้มเอกสาร ข้อมูลผลการเรียน ว่าผ่านเกณฑ์การจบหรือไม่
- งานส่งนักศึกษาฝึกงาน ทำหน้าที่หาข้อมูลจากสถานที่ฝึกงาน ในแต่ละแห่งว่าสามารถรองรับจำนวน นักศึกษาที่จะฝึกงานในรายวิชาต่าง ๆ ได้เป็นจำนวนเท่าใด จากนั้นก็จัดนักศึกษา ออกฝึกงานตามรายวิชา ให้สอดคล้องกับจำนวนที่สถานประกอบการต้องการ
การประยุกต์ใช้ในห้างสรรพสินค้าและสาขาย่อย
เนื่องจากห้างสรรพสินค้า เป็นศูนย์การค้าขนาดใหญ่ มีอยู่หลายสาขาที่จัดจำหน่ายอยู่ทั่วประเทศ มีซัพพลายเออร์กว่าพันราย และมีพนักงานอยู่หลายพันคน ดังนั้นข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และการตัดสินใจต้องทำอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์ ดังนั้นการที่ต้องใช้เทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องอ่านบาร์โค้ดจึงมีความจำเป็นฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศจะเป็นฝ่ายสนับสนุน สิ่งสำคัญที่สุดคือ เราต้องให้ความมั่นใจได้ว่า ระบบจะต้องทำงานได้ไม่มีปัญหาขัดข้อง ปัจจุบันระบบการเชื่อมต่อห้างสรรพสินค้าจะเป็นแบบสอง ลักษณะคือในต่างจังหวัดจะใช้การเชื่อมต่อผ่านดาวเทียม ในกรุงเทพจะใช้การเชื่อมต่อแบบออนไลน์ ซึ่งจะมีการรับส่งข้อมูลกันทุกวัน ในส่วนของไอที นอกจากจะต้องทำให้ระบบ สามารถทำงานได้ตลอดเวลาแล้ว ยังต้องมั่นใจด้วยว่าข้อมูลที่รับส่งกันนั้นมีความถูกต้อง ซึ่งในแต่ละวันมีข้อมูลมาก ที่จะต้องผ่านการประมวลผลให้แก่ผู้บริหารเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลยอดขายข้อมูลสต็อกและข้อมูลต่างๆ ที่ ผู้บริหารต้องการ
การประยุกต์ใช้ในงานสาธารณสุขและการแพทย์
เทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการนำมาใช้ในการพัฒนา ด้านสาธารณสุขอย่างกว้างขวาง และทำให้งานด้าน สาธารณสุขเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้ปรับระบบการบริหารงาน และนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในงานต่างๆ ดังนี้
- ด้านการลงทะเบียนผู้ป่วย ตั้งแต่เริ่มทำบัตร จ่ายยา เก็บเงิน
- การสนับสนุนการรักษาพยาบาล โดยการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล ต่างๆ เข้าด้วยกัน สามารถสร้างเครือข่ายข้อมูลทางการแพทย์ แลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ป่วย
- สามารถให้คำปรึกษาทางไกล โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชำนาญ เทคโนโลยีสารสนเทศ จะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นหน้า หรือท่าทางของผู้ป่วยได้ ช่วยให้ส่งข้อมูลที่เป็นเอกสาร หรือภาพเพื่อประกอบการพิจารณาของแพทย์ได้
- เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยในการ ให้ความรู้แก่ประชาชนของแพทย์ หรือหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว ได้ผลขึ้น โดยสามารถใช้สื่อต่างๆ เช่นภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวมีเสียงและอื่นๆ เป็นต้น
- เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยให้ผู้บริหารสามารถกำหนดนโยบาย และติดตามกำกับการดำเนินงานตามนโยบายได้ดียิ่งขึ้น โดยอาศัยข้อมูลที่ถูกต้องฉับไว และข้อมูลที่จำเป็น ทั้งนี้อาจใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวเก็บข้อมูลต่างๆ ทำให้การบริหารเป็นไปได้ด้วยความรวดเร็ว ถูกต้องมากยิ่งขึ้น
- ในด้านการให้ความรู้หรือการเรียน การสอนทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะดาวเทียม จะช่วยให้การเรียนการสอนทางไกล ทางด้านการแพทย์และสาธารณะสุข เป็นไปได้มากขึ้นประชาชนสามารถเรียนรู้พร้อมกันได้ทั่วประเทศและ ยังสามารถโต้ตอบหรือถามคำถามได้ด้วย
การประยุกต์ใช้ในงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กลุ่มนักวิทยาสตร์ วิศวกรที่ต้องการศึกษาพฤติกรรมบางอย่างของสิ่งมีชีวิต รวมถึงสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่นศึกษาการกระจายถิ่นที่อยู่ของนก การกระจายของแบคทีเรีย การสร้างอาณาจักรของมด ผึ้ง ชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์ป่าต่าง ๆ การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ตลอดจนระบบนิเวศวิทยา ความสนใจในการจำลองความเป็นอยู่ของ สิ่งมีชีวิตได้มีมานานแล้ว เริ่มตั้งแต่ครั้ง จอห์น พอยเมน ผู้เป็นนักคณิตศาสตร์ เสนอแนวคิดการทำให้เครื่องจักรทำงานโดยอัตโนมัติภายใต้โปรแกรม ซึ่งเป็นรากฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ จนถึงปัจจุบันเกมแห่งชีวิตจึงเกิดขึ้น
การประยุกต์ใช้ในงานด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม
เทคโนโลยีของการสื่อสารและโทรคมนาคมในปัจจุบันก้าวไกลไปมาก มีบริการมากมายที่ทันสมัยและตอบรับกับการนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ ตัวอย่างการใช้โทรศัพท์ในปัจจุบันนี้ก็มิไดมีไว้เพียงสำหรับคุยสนทนาเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่มันสามารถช่วยงานได้มากขึ้น โดยอ้างอิงข้อมูลและการเปิดให้บริการของบริษัท มีติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมทั้งภาพและเสียง มีโทรศัพท์มือถือรุ่นต่าง ๆ ออกมามากมาย พัฒนาทั้งหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน เช่นเทเลคอม เอเชีย คอร์เปอร์เรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้วางแผนการก่อสร้าง และติดตั้งขยายบริการโทรศัพท์พื้นฐาน 2.6 ล้านเลขหมาย ครอบคลุมพื้นที่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล รวมถึงการซ่อมบำรุงรักษาเป็นระยะเวลา 25 ปี และเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการในปัจจุบัน
การประยุกต์ใช้ในงานด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการออกแบบ ได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการออกแบบ ( CAD : Computer Aided Design) ออกแบบผลิตภัณฑ์ ออกแบบสินค้า และสามารถใช้คอมพิวเตอร์ช่วยควบคุมกระบวนการผลิต ( CAM : Computer Aided Menufacturing ) เช่นควบคุมอุณหภูมิ ควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ลดแรงงาน โดยใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมหุ่นยนต์ทำงาน
การประยุกต์ใช้ในสำนักงานภาครัฐและเอกชน
ปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่าง ๆ มากมาย เช่น การทำบัตรประจำตัวประชาชน การเกิด การตาย การเสียภาษีอากร การทำใบอนุญาตขับรถยนต์ การจ่ายค่าสาธารณูปโภคต่างๆ การประมวลผลคะแนนเลือกตั้ง ฯลฯ เป็นต้น งานเหล่านี้ได้มีการนำระบบสำนักงานอัตโนมัติเข้ามาใช้ เพื่อทำให้ได้ข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็ว และยังตอบสนองกับการบริหารยุคใหม่ที่ต้องใช้ข้อมูลเป็นหลักในการบริหารจัดการ
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานภูมิศาสตร์
การดำเนินการโครงการเมืองไทยแข็งแรง (Healthy Thailand ) จะต้องมีกิจกรรมการตรวจสอบและลงเก็บข้อมูลในพื้นที่ การติดต่อประสานงานระหว่างกลุ่มกิจกรรม หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด รวมถึงการประเมินโครงการระหว่างการดำเนินงาน ซึ่งบางส่วนต้องการข้อมูลเชิงพื้นที่เพื่อช่วยในการตัดสินใจ ประเมินข้อมูล สถิติ ระยะทาง พื้นที่ เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุง พัฒนากิจกรรมตัวชี้วัด ข้อมูลที่มีอยู่ไม่สามารถวิเคราะห์เชิงพื้นที่ได้ ทำให้เกิดปัญหาและอุปสรรค ที่จะต้องมีการพัฒนาระบบเพิ่มเติม
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการแพทย์
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการแพทย์ หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ในด้านการแพทย์ เช่น การตรวจ การรักษาพยาบาล และการป้องกันโรค ด้วยวิธีการต่าง ๆ ได้แก่
1. การพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์ โดยอาศัยความรู้ด้านวิศวกรรมเป็น หลักในการผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง เช่น
1.1 เพื่อการตรวจและวินิจฉัยโรค เครื่องเอกซเรย์ เครื่องโทโมกราฟีแบบคอมพิวเตอร์เครื่องถ่ายภาพแบบนิวเคลียร์แมกนิติกเรโซแนน์อิมเมจเครื่องถ่ายภาพโดยเรดิโอกราฟฟี เครื่องอุลตราซาวด์ เครื่องตรวจการทำงานขอหัวเครื่องตรวจการรับฟังเสียง
1.2 เพื่อการรักษาพยาบาล มีดผ่าตัดเลเซอร์ เครื่องกรอคราบหินปูนที่ฟันโดยคลื่นเสียงความถี่สูง เครื่องนวดคลายความเมื่อยล้าโดยคลื่นเสียงความถี่สูง เครื่องฉายรังสี เครื่องควบคุมการให้ออกซิเจนในระหว่างการผ่าตัด เครื่องกระตุ้นการทำงานของหัวใจ แว่นตา คอนแทกเลนส์- การสร้างอวัยวะเทียม
1.3 เพื่อการป้องกันโรค เตาอบและตู้อบฆ่าเชื้อ การใช้รังสี เครื่องฉายรังสี อุปกรณ์สำรหับการสวมครอบหรือสอดใส่เข้าไปในรูหู
2. การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการผลิตยา สาร หรือวิธีการที่ใช้ในทางการแพทย์ ในการพัฒนาบางครั้งต้องอาศัยเทคโนโลยี เทคนิค และวิธีการต่างๆ เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ และเทคนิคทางด้านวิศวกรรม ได้แก่ การพัฒนาวิธีการเพาะเลี้ยงเชื้อซึ่งเก็บตัวอย่างมาจากผู้ป่วย การสร้างเด็กหลอดแก้ว การหาสาเหตุและการรักษาโรคที่เกิดจากความบกพร่องทางพันธุกรรม อุตสาหกรรมการผลิตยา การผลิตเซรุ่ม การผลิตวัคซีนป้องกันโรค
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
E-commerce หรือการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรมในเชิงธุรกิจทุกประเภทที่กระทำผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรวมทั้งกิจกรรมการซื้อขาย การแลกเปลี่ยนสินค้าและกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การส่งสินค้า การชำระเงิน และการบริการด้านข้อมูล เป็นต้น E-commerce นั้นสามารถให้บริการที่สะดวก รวดเร็ว และไม่จำกัดขอบเขตของผู้ใช้บริการและระยะเวลาทำการของหน่วยงาน
สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง สื่อที่ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือหลักในการปฏิบัติงานและติดต่อสื่อสารข้อมูล ใน E-commerce สื่ออิเล็กทรอนิกส์ของเรา ได้แก่ สื่อโทรทัศน์ สื่อเคเบิลทีวี เครื่องโทรสาร โทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์เคลื่อนที่ เครื่อง ATM ระบบการชำระเงินและโอนเงินอัตโนมัติ รวมทั้งเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
E-business เป็นธุรกิจเชิงอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีขอบเขตที่กว้างกว่า E-commerce เนื่องจากเป็นการพิจารณาถึงองค์ประกอบทุกส่วนของการดำเนินธุรกิจ มิได้พิจารณาเพียงเฉพาะกิจกรรมการซื้อ-ขายเท่านั้น เป็นการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางธุรกิจผนวกกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อดำเนินธุรกรรมต่าง ๆ และปรับปรุงธุรกิจให้มีความเป็นระบบ สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยเพิ่มศักยภาพของธุรกิจด้วยการดำเนินธุรกิจให้กลายเป็นรูปแบบ Online และครอบคลุมได้ทั่วโลก
การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange: EDI)
การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ EDI เป็นเทคโนโลยีที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการรับ-ส่งเอกสารจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่งโดยส่งผ่านเครือข่าย เช่น โทรศัพท์ สายเคเบิล ดาวเทียม เป็นต้น แทนการส่งเอกสารโดยพนักงานส่งสารหรือไปรษณีย์ ระบบ EDI จะต้องใช้รูปแบบของเอกสารที่เป็นมาตรฐานเพื่อให้หน่วยงานทางธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับมาตรฐานของ EDI ในประเทศไทยถูกกำหนดโดยกรมศุลกากร ซึ่งเป็นหน่วยงานแรกที่นำระบบนี้มาใช้งาน คือ มาตรฐาน EDIFACT (Electronic Data Interchange for Administration, Commerce and Transport) ตัวอย่างของเอกสารที่นำมาใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยระบบ EDI เช่น ใบสั่งซื้อสินค้า ใบเสนอราคา ใบกำกับสินค้า ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี เป็นต้น
ประโยชน์ของการใช้ระบบ EDI
- ลดค่าใช้จ่ายด้านการจัดส่งเอกสาร
- ลดเวลาทำงานในการป้อนข้อมูล ทำให้ข้อมูลมีความถูกต้องและลดข้อผิดพลาดจากการป้อนข้อมูลที่ซ้ำซ้อน
- เพิ่มความรวดเร็วในการติดต่อสื่อสาร
- ลดค่าใช้จ่ายและภาระงานด้านเอกสาร
- แก้ปัญหาอุปสรรคทางภูมิศาสตร์และ
ระบบสำนักงานอัตโนมัติ
ปัจจุบันสำนักงานจำนวนมากได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อให้งานบังเกิดผลในด้านบวก อาทิ ความสะดวกรวดเร็ว ความถูกต้อง และสามารถทำสำเนาได้เป็นจำนวนมาก เป็นต้น อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้ได้แก่ เครื่องพิมพ์ดีดอิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์ เทเลเท็กซ์ เครื่องเขียนตามคำบอกอัตโนมัติ (Dictating Machines) เครื่องอ่านและบันทึกวัสดุย่อส่วน เครื่องถ่ายเอกสารแบบหน่วยความจำ เครื่องโทรสาร ฯลฯ อุปกรณ์เหล่านี้ นำไปประยุกต์ใช้กับงานสำนักงาน ดังนั้นการนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในระบบสำนักงาน จึงเรียกว่า ระบบสำนักงานอัตโนมัติ ซึ่งเทคโนโลยีดังที่กล่าวมานำไปประยุกต์ใช้กับงานสำนักงานได้ในหลายลักษณะ เช่น งานจัดเตรียมเอกสาร งานกระจายเอกสาร งานจัดเก็บและค้นคืนเอกสาร งานจัดเตรียมสารสนเทศในลักษณะภาพ งานสื่อสารสนเทศด้วยเสียง งานสื่อสารสารสนเทศด้วยภาพและเสียง เป็นต้น
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาอุตสาหกรรมและการผลิต
โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งนำระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System-MIS) เข้ามาช่วยจัดการงานด้านการผลิต การสั่งซื้อ การพัสดุ การเงิน บุคลากร และงานด้านอื่นๆ ในโรงงาน ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานอุตสาหกรรมเช่น อุตสาหกรรมการพิมพ์ อุตสาหกรรมประเภทนี้ ใช้ระบบการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Publishing) ในการจัดเตรียมต้นฉบับ วิดีโอเท็กซ์ วัสดุย่อส่วน และเทเลเท็กซ์ได้ รวมทั้งการพิมพ์ภาพโดยใช้เทอร์มินัลนำเสนอภาพ (Visual Display Terminal) ส่วนอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ มีการใช้คอมพิวเตอร์ออกแบบรถยนต์ ปฏิบัติการการผลิต (เช่น การพ่นสี การเชื่อมอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน ฯลฯ) การขับเคลื่อน การบริการ และการขาย รวมทั้งออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ให้สามารถปฏิบัติงานในโรงงานได้ในรูปแบบหุ่นยนต์
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาสาธารณสุขและการแพทย์
งานด้านสาธารณสุขเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ระบบบริหารได้นำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในงานต่างๆ เช่น การลงทะเบียนผู้ป่วย การสร้างเครือข่ายข้อมูลทางการแพทย์ แลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ป่วย การให้คำปรึกษาทางไกลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชำนาญ เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นหน้าหรือท่าทางของผู้ป่วยได้ ช่วยให้ส่งข้อมูลที่เป็นเอกสารหรือภาพเพื่อประกอบการพิจารณาของแพทย์ได้ ส่วนด้านให้ความรู้หรือการเรียน การสอนทางไกล ด้วยระบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ เป็นต้น
ระบบแพทย์ทางไกล (Telemedicine)
ระบบแพทย์ทางไกลเป็นการนำเอาความก้าวหน้าด้านการสื่อสารโทรคมนาคมมาประยุกต์ใช้กับงานทางการแพทย์ โดยการส่งสัญญาณผ่านสื่อซึ่งอาจจะเป็นสัญญาณดาวเทียม (Satellite) หรือใยแก้วนำแสง (Fiber optic) แล้วแต่กรณีควบคู่ไปกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แพทย์ต้นทางและปลายทางสามารถติดต่อกันด้วยภาพเคลื่อนไหวและเสียง ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลคนไข้ระหว่างกันได้
ระบบการปรึกษาแพทย์ทางไกล (Medical Consultation)
ระบบการปรึกษาแพทย์ทางไกลเป็นระบบการปรึกษาระหว่างโรงพยาบาลกับ โรงพยาบาล (One to One) ซึ่งจะสามารถใช้งานพร้อมๆ กันได้ เช่น ในขณะที่โรงพยาบาลที่ 1 ปรึกษากับโรงพยาบาล ที่ 2 อยู่ โรงพยาบาลที่ 3 สามารถขอคำปรึกษาจากโรงพยาบาลที่ 4 และโรงพยาบาลที่ 5 สามารถขอคำปรึกษาจาก โรงพยาบาลที่ 6 ได้
แบบทดสอบ หน่วยที่8 การใช้คอมพิวเตอร์ในสังคม
1. CIO หมายถึงอะไร
ก. System Analysts
ข. Programmer
ค. Chief information officer
ง. Network administration
จ. Database administration
2. นักวิเคราะห์ระบบ คืออะไร
ก. เป็นตำแหน่งของผู้นำหรือผู้บริหารด้านระบบสารสนเทศขององค์กร เทียบได้ระดับ vice president หรือรองประธานบริษัท
ข. ผู้พัฒนาโปรแกรมเพื่อนำไปใช้งานด้านต่างๆภายในองค์กร เป็นผู้ที่ต้องมีความรู้ในเรื่องฮาร์ดแวร์ในระบบคอมพิวเตอร์และโปรแกรมระบบปฏิบัติการ
ค. เป็นผู้ควบคุมการใช้อุปกรณ์ต่างๆในระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
ง. คือผู้บริหารระดับฐานข้อมูล มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมฐานข้อมูล การสร้างและการรวมฐานข้อมูลต่างๆเพื่อให้ใช้งานร่วมกันได้
จ. เป็นผู้ที่มีความรู้ในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี มีประสบการณ์ในการพัฒนาโปรแกรมมาแล้วเป็นอย่างสูง มีหน้าที่ประสานงานกับผู้ใช้ (ผู้บริหาร) ในการพัฒนาระบบสารสนเทศ
3. Database administrationgเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอะไร
ก. DBA
ข. DBC
ค. DBE
ง. DBF
จ. DBR
4. ผู้บริหารระดับฐานข้อมูล มีหน้าที่อะไร
ก. เป็นผู้ควบคุมการใช้อุปกรณ์ต่างๆในระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
ข. ในการออกแบบระบบเครือข่ายไม่ว่าเป็น Lan หรือ Wan
ค. ในการทำให้ระบบดำเนินการต่อไปได้
ง. รับผิดชอบด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมฐานข้อมูล การสร้างและการรวมฐานข้อมูลต่างๆเพื่อให้ใช้งานร่วมกันได้
จ. การสร้างและการรวมฐานข้อมูลต่างๆเพื่อให้ใช้งานร่วมกันได้
5. Personal Informationหมายถึงอะไร
ก. สารสนเทศส่วนรวม
ข. สารสนเทศ
ค. สารสนเทศส่วนบุคคล
ง. สารสนเทศปัจจุบัน
จ. สารสนเทศในอนาคต
6. อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอย่างไร
ก. Computer Cram
ข. Computer Crime
ค. Computer Creen
ง. Computer Civw
จ. Computer cr
7. ความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องโดยตรง กับซอฟต์แวร์ คืออะไร
ก. ไวรัส
ข. ไวลัส
ค. ไวนัส
ง. ไวบัส
จ. ไวมัส
8. Information Super Highwayเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอะไร
ก. ระบบทางด่วนเส้นทาง
ข. ระบบทางด่วนการส่ง
ค. ระบบทางด่วนข้อมูล
ง. ระบบทางด่วนตัวรับ
จ. ระบบทางด่วนสือกลาง
9. ความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอะไร
ก. Information System Securito
ข. Information System Securityt
ค. Information System Securitp
ง. Information System Securiti
จ. Information System Security
10. ระบบออนไลน์ผู้ใช้ต้องมีอะไรบ้างเป็นสำคัญ
ก. User ID และ Password
ข. Url
ค. Upt
ง. Utr
จ. Ure
ที่มา…หนังสือเทคโนโลยีสารสนเทศ
จัดทำโดย
นางสาวจตุรา ชูจันทร์ ชั้น ปวส.2/5
นางสาวเบญจวรรณ วรรณฤกธิ์ ชั้น ปวส.2/5
นางสาวสุภิตา โส๊สันสะ ชั้น ปวส.2/5
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น